วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของระบบเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล,โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
ประเภทของระบบเครือข่าย


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม
รูปร่างของเครื่องคอมพิวเตอร์
ในเรื่องนี้จะอธิบายถึงโครงสร้างของเครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่จะอธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเครือข่ายในเรื่องอื่นอีก ซึ่งระบบเครือข่ายในทางคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ระบบที่เกิดจากการนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ สแกนเนอร์ Hub/switch หรืออุปกรณ์อื่น ๆ มาเชื่อมต่อกัน โดยใช้สื่อ (transmission media) ต่าง ๆ เช่น สายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำด้วยทองแดงหรือใยแก้วนำแสง หรืออาจเป็นสื่อแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ อินฟาเรด หรือไมโครเวฟ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน หรือเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแชร์พรินเตอร์หรือการแชร์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า “Topology” คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆ ตามหลักวิชาการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยก่อน ๆ นั้น ก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 แบบคือคลิกส่วนนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม
1. แบบสตาร์ (Star Network)
2. แบบริง (Ring Network)
3. แบบบัส (Bus Network)
4. แบบผสม (Hybrid Network)
5. แบบเมซ (Mesh Network)
โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network)
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด นอกจากนี้หากต้องการเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องหยุดการทำงานของเครือข่ายก่อน การต่อแบบสตาร์นี้เป็นแบบที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาอุปกรณ์ที่มาใช้เป็นศูนย์กลางอย่าง Hub หรือ Switch ลดลงมากในขณะที่ประสิทธิภาพหรือความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนปัจจุบันได้ความเร็วถึงระดับของกิกาบิต (1,000 Mbps) แล้ว


รูปของโครงสร้างแบบสตาร์ (Star network)
โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูปที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลในทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์



รูปแบบโครงสร้างแบบริง (Ring Network)

โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์

รูปแบบโครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน

โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network)
โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network)
เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network )

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

เพื่อน

www.mememejung.blogspot.com


www.tiruk15.blogspot.com

www.Jukduy.blogspot.com

www.nittaya13.blogspot.com

www.nutsba.blogspot.com

www.Patama13.blogspot.com

www.newyear7134.blogspot.com

www.Dajung2010.blogspot.com

www.poopae555.blogspot.com

www.Zoo-Ruk.blogspot.com

www.praputson2.blogspot.com

www.Namtho999.blogspot.com

www.Santan9899.blogspot.com

www.Swlkksanpui.blogspot.com

www.apisit-loveyou.blogspot.com

www.Koonstitchclub.blogspot.com

www.Thaicok.blogspot.com

www.Tangtonnalove.blogspot.com

www.Pimpakk486.blogspot.com

www.petchai222.blogspot.com

www.kimhyonjung.blogspot.com

www.surut16.blogspot.com

www.forgetmenot_fernway.blogspot.com

www.sorry-lin.blogspot.com

www.Mintra-abnormal.blogspot.com

www.DowandMok.blogspot.com

www.Cheesekra.blogspot.com

www.AE andtama.blogspot.com

www.pigred.blogspot.com

www.blogspot.com

www.tukinpo.blogspot.com

www.Toulex5.blogspot.com

www.loypila.blogspot.com

www.kapook16.blogspot.com

www.Mayrrhung.blogspot.com

www.Bigbody11.blogspot.com

เฟื้องฟ้า



ชื่อสามัญ Paper flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bougainvillea spp.

ตระกูล NYCTAGINACEAE

ประเภท ไม้เถาเลื้อย

ถิ่นกำเนิด บราซิล

ลักษณะทั่วไป

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเทาหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ 0.51 เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปไข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบ ใบมีสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล

1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา

2. พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี

3. พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช

4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี

5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง

6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคาร บ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิต

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ โดยวิธีการปักชำ ตอน การเสียบยอด

สภาพที่เหมาะสม

น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง

ดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ

ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น

ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า การป้องกันกำจัด

ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

ผักเป็ดแดง


ชื่อภาษาไทย ผักเป็ดแดง


ชื่อภาษาอังกฤษ Joyweed

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alternanthera bettzickiana (Regel) Nichols. วงศ์ AMARANTHACEAE

ชื่ออื่น ผักเป็ดฝรั่ง พรมมิแดง ผักโหมแดง

ถิ่นกำเนิด -

รายละเอียด ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง สูง 10-20 ซม.

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปสีเหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1-5 ซม. สีแดง

ดอกช่อ รูปกระบอก หรือทรงกลมออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบรวมสีขาวนวล

ผลแห้ง รูปคล้ายโล่ เมล็ดสีน้ำตาล

สรรพคุณ ทั้งต้น - รับประทานเป็นผักช่วยขับน้ำนม ต้มกับน้ำ รับประทานเป็นยาแก้ไข้ ตำพอกรักษาแผล

นำพริกปลาทู


น้ำพริกปลาทู


เครื่องปรุง

1. ปลาทู 2 ตัว

2. หอมแดง 100 กรัม

3. กระเทียมเป็นหัว 60 กรัม

4. พริกชี้ฟ้าเขียว 100 กรัม

5. น้ำมะนาว 5-6 ช้อนโต๊ะ

6. น้ำปลา 3-4 ช้อนโต๊ะ

7. น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ



วิธีทำ



1. นำปลาทูสด ล้างให้สะอาด ควักไส้ออก ย่างไฟให้สุกจนหอมได้ที่ จากนั้นนำปลาทูมาแกะเนื้อออกพักไว้

2. นำหอม กระเทียม และพริกชี้ฟ้า เผาไฟให้หอม เมื่อได้ที่นำลงพักไว้ ส่วนพริกชี้ฟ้าให้แกะเปลือกออก

3. นำหอม กระเทียม และพริกชี้ฟ้าที่เตรียมไว้โขลกให้ละเอียด จากนั้นใส่เนื้อปลาทูลงไปโขลกต่อให้เข้ากัน

4. เมื่อเข้ากันแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล ชิมรสตามใจชอบ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

5. จัดเสิร์ฟพร้อมผักสด หรือจะเป็นผักต้มก็ได้ตามแต่ใจชอบ